Skip to main content
Piyabut Chairatna Photography Official Website

เรื่องของ Hasselblad > เรื่องของเส้นสายสีน้ำเงิน** The Blue line

คนที่ทำงานด้านออกแบบ คนที่สนใจเรื่องการออกแบบ หรือกำลังเรียนออกแบบ ต้องคงได้ยินคำนี้นะครับ “Minimalism” Concept of the Art เป็นคำที่ไพเราะ.. แน่นอนถ้าใครๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง มันมีความหมายสำหรับการมีชีวิตและการใช้ชีวิตมากมายทีเดียว แน่นอนว่านักออกแบบก็ต้องมีหลักการในการคิด เหมือนๆ กับ รูปแบบของทุกๆ วิชาชีพที่ต้องมี “แนวคิด” ก่อนนจะออกมาเป็นรูปร่างและใช้งานได้ดีจริง

Hasselblad ก็ใช้นิยามนี้ในการออกแบบตัวกล้อง เลนส์และอุปกรณ์ในการใช้งานร่วมกันเช่นเดียวกัน ความลงตัวหรือความเข้ากันได้ การเชื่อมกันได้.. ยังเป็นปรัชญาและแนวคิดของฮัสเซลบลัด ผมคิดว่าวิศกรรวมทั้ง Victor Hasselblad เองมีความเป็นศิลปินพอๆ กับการเป็นนักออกแบบหรือนักประดิษฐ์ในสาขอาชีพอื่นๆ เลยทีเดียวครับ

The Blue line เกิดขึ้นในยุค ..มิลเลนเนียม.. ยุคของการก้าวข้ามตัวเลขจาก 1999... 2001 ตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา ทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มส่อแววไม่ดีนัก ปี 2538-2542 ประเทศเราล่มสลายทางเศรษกิจ ด้วยพิษอาหารเลิศรสประจำชาติ “ต้มยำกุ้ง”

Hasselblad รู้ตัวแล้ว และเริ่มคิดถึงอนาคตของตัวเอง .. สายการผลิตกล้อง 500 series เช่น 501cm เลิกผลิตไปก่อน 503cw ยังไปต่อได้จนถึงปี 2007 เพราะ Hasselblad มี CFV16c Digital back เราจึงจะยังทันเห็น 503cwD อยู่**  เลนส์สายการผลิตตระกูล CFx ทั้งหลาย บางดีๆ บางรุ่น ไปไม่ถึง CFE เลย ได้แค่ CFi [ตระกูลเลนส์ CFE, E= Electronic connectors] เช่น 50mm CFi, 60mm CFi, 100mm CFi, 150mm CFi, 250Cfi [40mm CFE, 120mm CFE, 180mm CFE, 250CFE, 350CFE] ก็ต้องยุติการผลิตไป เหลือเพียงที่เป็น CFE อยู่ไม่กี่ตัวที่เป็นตัวหลักๆ และ .. ต้องไปใช้ร่วมกับเลนส์ ตระกูล FE ของกล้อง 200 เช่นกล้อง 205Fcc ที่ยังคงผลิตอยู่ .. และมี Blue line systems รออยู่ก่อนแล้ว...​

The Blue line the “bundle and connectors” สายการผลิตของเลนส์และกล้อง 2 แนว คือ 500 กับ 200 ถูกรวบเป็นหนึ่ง ซึ่งเป็นที่สุดของกล้องมีเดียมฟอร์แมทล้ำยุค..และแน่นอน ต้องเข้ากันได้..แบบเต็มระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2550

Hasselblad มีกล้องและเลนส์มากมาย และแน่นอนอุปกรณ์ทุกอย่างใช้ร่วมกันได้หมด แล้วอะไรคือสิ่งที่จะแสดงถึง..ความเฉพาะ.. ความสมบูรณ์แบบ..? เพื่อให้คนใช้กล้องหรือนักถ่ายภาพที่มากประสบการณ์ และสามารถใช้ Smart Function ของกล้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ... “Minimalism” Concept of the Art ไม่ได้ไพเราะอย่างเดียว แต่มากด้วยความหมาย บางอย่างไม่จำเป็นก็ต้องตัดใจ เพราะถ้ามากไป.. Hasselblad อาจจากไปเหมือนกล้องอื่นๆ เอาที่พอดีๆ แยกกันตายหมู่ รวมกันอยู่เราอาจรอด.. ผมว่า Hasselblad คิดถูกมาก ที่ยกเลิกสายการผลิตตระกูลกล้อง 500 แม้จะเสียดายมากมายเพียงใดก็ตาม.. ทุกๆ อย่างมันมีต้นทุน..

แน่นอนครับ.. หากถึงทางเลือก... ต้องใช้ประสบการณ์และสติปัญญาประกอบการตัดสินใจ..ในการเลือก.. ไม่ใช่เสี่ยงดวง..หรือ..เสี่ยงทาย

Hasselblad กับผมเป็นประสบการณ์ร่วม เป็นการประกอบอาชีพ ผมทำงานถ่ายงานโฆษณามาตลอด ครู อาจารย์ผมก็ใช้ มันส่งต่อประสบการณ์ร่วมทุกข์ร่วมสุขมาด้วยกัน จากรุ่นสู่รุ่น  กล้องมีเดียมฟอร์แมทตัวอื่นๆ ผมก็เคยใช้นะครับ.. กล้องทุกตัวมีสเน่ห์ในตัวเอง ใครมี Passion มี Inspiration กับกล้องตัวไหนก็ดีทั้งนั้นครับ..

สำหรับผม.. ผมถูกเลือกและผมก็เลือกแล้ว... เราถึงได้มีอะไรๆ มาแบ่งกันอ่านจนถึงบรรทัดนี้.. ขอบคุณที่เลือกเดินด้วยกันนะครับ.. เราจะผ่านทั้งเรื่องร้ายๆ และเรื่องดีๆ ไปด้วยกัน.. สู้ๆ นะครับ

Cr. Yongyut John Khasawong

คุณยงยุทธ คะสาวงค์ ผู้เชี่ยวชาญ Hasselblad ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้สร้างและก่อตั้ง คอมมูนิตี้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกล้อง Hasselblad

202FA. A camera that combines professional image quality with ease of operation. With the winder F and the selective area TTL metering system set to automatic exposure, your can work efficiently with full concentration on the subject. The use of flash is facilitated by the built-in TTL/OTF flash metering. The camera is primarily designed for the FE lenses, but can also use the CF/CFE lens range, utilizing the focal plane shutter only. The sutter provides speeds from 34min to 1/1000 s.

Zeiss Planar FE 2/110mm. An excellent alternative to the standard lens. The large maximum aperture can be used to create unfocused backgrounds or make use of fast shutter speeds.

Hasselblad Carl Zeiss Planar 110mm F2 F T* type เป็นเลนส์ Normal lens ของ Hasselblad ที่ออกแบบมาเฉพาะกล้อง 200 และ 2000 Series เช่น 201F, 202FA, 203FE, 205TCC, 205FCC, 2000FC, 2003FCW etc ที่มีชัตเตอร์ที่ตัวกล้อง ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลนส์อย่าง V series หรือ 500 ซีรี่ย์ ถือเป็นสุดยอดเลนส์ที่น่าใช้มากตัวหนึ่ง มีความคมชัดสูง Dept of field ตื้นมาก ถ่ายคนได้ดีสีผิวสวย และหายากมากตัวหนึ่งเลยทีเดียวที่ F-stop กว้างที่สุดของ Hasselblad

Carl Zeiss Planar 110mm F2 F T* type ตัวนี้ใช้ได้เฉพาะกล้องตามรุ่นที่ระบุข้างบนเท่านั้นครับ ผลิตมาทั้งหมด 2 version (มุมมองราวๆ 55มม ของกล้อง 135) คือ F และ FE series (ภาพประกอบคือ F series lens)

1st Carl Zeiss planar 110mm F2 F T*

2st Carl Zeiss planar 110mm F2  FE T*