การถ่ายรูปรับปริญญาในสตูดิโอ นั่นคืออะไร หลายคนคงสงสัย ก็ไม่มีอะไรครับ ตรงๆเลย ถ่ายรูปรับปริญญานั่นแหละ แค่ปกติ เราจะเห็นหลายๆคนถ่ายรูปรับปริญญาตามมหาลัย ไม่ว่าจะเป็นวันซ้อม วันรับจริง หรือ นอกรอบ ซึ้งอันนี้ก็เหมือนกัน แทนที่เราจะถ่ายรูปรับปริญญากันในมหาลัยที่ไม่ต้องสู้แออัดคนเยอะหรือตากแดดตากฝน เราก็เปลี่ยนมาถ่ายกันในสตูดิโอ แอร์เย็นๆ สบายๆ อีกทั้งรอบๆสตูดิโอก็ยังมีวิวสวยๆให้ถ่ายรูปมุมต่างๆให้ด้วยครับ ทั้งindoorและoutdoor ในวันนี้ได้เป็นการถ่ายรูปรับปริญญานอกรอบในสตูดิโอแบบเต็มวันให้กับน้องแพรวา บัณฑิตใหม่จาก มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นการถ่ายรูปรับปริญญานอกรอบก่อนที่จะเข้ารับปริญญาครับ และการถ่ายรูปรับปริญญานอกรอบในสตูดิโอครั้งนี้ จะเน้นไปในเรื่องของการจัดแสงไฟ เพื่อถ่ายแล้วให้ภาพออกมาดูมีมิติหรือเป็นแนวแฟชั่น ที่ถ้าไปถ่ายรูปข้างนอกไม่อาจจะถ่ายได้แบบนี้ และการถ่ายรูปในวันนี้ เราได้มีการถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มให้ด้วยครับ เพื่อเก็บความทรงจำที่ยาวนานตลอดไป
การถ่ายรูปฟิล์มดียังไง จะว่าไปแล้วมันก็ไม่ต่างกับกล้องดิจิตอลทั่วไปหรอกครับ เผลอๆ กล้องดิจิตอลคุณภาพจะดีกว่าด้วยซ้ำ ถ้าพูดถึงเรื่องคุณภาพนะครับ แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่จะเก็บบันทึกความทรงจำหรือการบันทึกเรื่องราวความทรงจำนั่นแล้ว กล้องฟิล์มนี่ทำได้ดีกว่ากล้องดิจิตอลครับ
มันดียังไง กล้องดิจิตอลเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เราจะได้ไฟล์ซึ่งจะจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดดิสหรือซีดี ซึ้งสิ่งเหล่านี้แหละครับ มันมีอายุการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เต็มที่ก็ไม่เกิน 30-50ปี
ส่วนกล้องฟิล์มนั่นมันเป็นอนาล็อกและตัวฟิล์มนั่นอายุก็อยู่ได้ไม่ต่ำกว่า50กว่าปี หรือ ถ้าเก็บดีๆแบบถูกวิธี นี่เก็บได้เป็น100ปีเลยด้วยซ้ำ
กลับมาเรื่องการจ้างถ่ายรูปรับปริญญา สมัยนี้ส่วนมากก็จะนิยมจ้างช่างกล้องถ่ายด้วยดิจิตอลกัน คือไม่คิดอะไรมา ถ่ายมาอีก2-3วันก็เห็นรูป เอารูปโพสต์ลงโซเชียล ก็แค่นั้น แต่พอเวลานานไป ระบบโซเชียลล่ม ข้อมูลก็หาย หรือ รูปที่ถ่ายไว้อัดมาแล้ว แต่ถูกน้ำท่วม เสียหมดเลย นั่นแหละครับ ความทรงจำครั้งเดียวในชีวิตก็แทบหายไปหมดเลย
เพราะฉนั้นเราจึงอยากให้ความสำคัญกับความทรงจำที่ส่วนมากจะเป็นครั้งเดียวในชีวิตของหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็น งานรับปริญญา, งานบวช หรือ งานแต่งงาน ควรจะมีการถ่ายรูปจากกล้องฟิล์มเก็บไว้สักหน่อยก็ดีครับ
ในอนาคตเวลาผ่านไปหลายสิบปี รุ่นสู่รุ่น หลายของเรา เหลนของเรา มาค้นกล่องลังเก็บของ ได้เห็นฟิล์มเอาไปสแกนใหม่ก็จะได้เห็นเรื่องราวของพ่อแม่ปู่ย่าตายายครับ
รูปภาพไม่จำเป็นต้องสวยงาม คมชัด ด้วยคุณภาพเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องราวในอดีตนั้นต่างหากที่สำคัญกว่า ความทรงจำเก่าๆจะกลับมาสู่สายตาในปัจจุบันอีกครั้ง
สำหรับในครั้งนี้ เราได้ใช้กล้องฟิล์มอนาล็อก ซึ่งเป็นกล้อง Medium Format ของตระกูล Hasselblad ฟิล์มที่ใช้ก็เป็นฟิล์ม 120 รูปที่ได้ต่อม้วนจะมีเพียง 12รูป เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสครับ ส่วนฟิล์มที่ใช้ถ่ายในครั้งนี้เป็นฟิล์มขาวดำ ที่เราได้ล้างเองสแกนเองในห้องมืดสีแดงๆแบบในหนังซัตเตอร์เลยครับ ขบวนการที่วุ่นวายนี้ แต่พอแลกกับการเก็บความทรงจำให้อยู่เหนือกาลเวลานั้นมันคุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มอีกครับ